ความรู้เบื้องต้นของ DSM…ระบบเทรดในตำนาน เขียนโดย เพจ Trader 4.0

เนื้อหาข้อมูลนี้เขียนโดยเพจ Trader 4.0
www.facebook.com/Trader4.00/posts/562965…

DS ย่อมาจาก เด่นศรี ซึ่งตั้งเป็นชื่อเพื่อให้เกียรติแก่คนที่เปิดเผยเเนวคิดนี้ออกมา M มาจากคำว่า Model รวมกันเป็นชื่อย่อที่เรียกกันในวงการว่า DSM นั้นเอง

.
ทำไม DSM จึงเป็นระบบเทรดในตำนาน สาเหตุนึงที่ผมตั้งชื่อระบบเทรดนี้เป็นระบบเทรดในตำนานนั้นก็เพราะ อย่างเเรกเลยเพจของคนที่เผยเเพร่ระบบนี้นั้นได้ปิดไปเเล้ว ซึ่งทางเจ้าของเพจออกมาบอกว่าโดนขมขู่จึงขอปิดตัวอย่างเป็นทางการ อย่างที่สองคือ ไม่มีคำตอบอย่าง exactly ว่าจริงๆเเล้วมันเทรดยังไงของมันวะ ???? อย่างสุดท้ายคือ ความรู้นั้นค่อนข้างกระจัดกระจายไม่ได้มีการรวบรวมไว้อย่างชัดเจน ทำให้คนที่อยากศึกษาต้องอาศัยหลัก ครูพักลักจำมาประยุกต์เป็นเเนวทางของตนเอง
.
ซึ่งผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่ศึกษาเเละลงมือทำจริงมาบ้างระดับนึง แต่ขอย้ำว่าไม่ใช่ Expert อะไรเเละ DSM ที่ผมจะพูดถึงนั้นใช้ความเข้าใจส่วนตัวค่อนข้างมาก ทำให้อาจบิดพลิ้วจากต้นฉบับจริง ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญาณณณณณในการอ่าน
.
การที่จะเข้าใจที่ DSM ได้นั้นส่วนตัวผมเห็นว่าเราต้องเริ่มจากโจทย์ที่เราต้องการจากการเทรด/ลงทุนก่อน โจทย์ของคนที่เทรด/ลงทุนส่วนมากในบ้านเรานั้นคือกำไร มันเป็นกำไรเเบบ Just Profit จริงๆ คือผมไม่ปฏิเสธว่าทุกคนตองการกำไร แต่พวกเราอาจจะคาดหวังกำไรในระยะสั้นจนเกินไป โอเคกลับมาเรื่อง DSM ดีกว่าโจทย์หลักของ DSM นั้นไม่ใช่กำไรครับแต่มันคือ “การสะสม Asset ” หรือ เรียกง่ายๆว่าการเพิ่มปริมาณหุ้น โดยไม่เติมเงินนั้นเอง เป้าหมายรองลงไปก็คือการสร้างกระเเสเงินสดออกมาให้ได้ นั้นเอง
.
สรุป Part 1 ของ DSM เรื่องจุดประสงค์ของ DSM คือ การเพิ่ม Asset เเละ การสร้างกระเเสเงินสด
.
ต่อ หลังจากเข้าใจโจทย์ของ DSM ผมเชื่อว่ามันน่าจะทำให้เราพร้อมเปิดรับมันมากขึ้นเพราะคนส่วนใหญ่ที่ศึกษา DSM นั้นตอนเเรกยังไม่เข้าใจโจทย์ของ DSM ดังนั้นในส่วนนี้เราจะมาลงรายละเอียดกันถึงวิธีการของ DSM นะครับ
.
1. ขั้นเเรกเลยเราต้องเลือก Product ที่เราอยากเก็บสะสมในระยะยาว (แบบยาวจริงๆ)
.
2. ต่อมาให้ตอบตัวเองให้ได้ว่าจะเน้นสร้างกระเเสเงินสดหรือสะสม Asset เพราะ 2 อย่างนี้นั้นจะสวนทางกันคือถ้าคุณอยากสะสม Asset มากเท่าไรกระเเสเงินสดระหว่างทางคุณจะน้อยลง กลับกันถ้าเลือกสร้างกระเเสเงินสดได้มาก Asset คุณก็จะน้อยลงเช่นเดียวกัน
.
3. ซื้อ Product นั้นซะ ขอย้ำว่าขั้นตอนนับจากข้อ 3 เป็นต้นไปนั้นถือเป็นศิลปะส่วนบุคคลสามารถไปปรับเเต่ง Modify ได้ตามใจชอบ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อยากลงทุนแบบ DSM ในหุ้น X โดยมีงบทั้งสิ้น 1,000,000 บาท คุณอาจจะซื้อเลยรวดเดียวหมดหน้าตักก็ได้หรือจะเเบ่งทยอยซื้อเป็นกี่ไม้ก็ว่ากันไปเเล้วเเต่ความเห็นส่วนตัวของแต่ละคน
.
ก่อนจะไปต่อขอเสริมตรงนี้ก่อน การซื้อหุ้นของ DSM นั้นเปรียบเสมือนการที่เราซื้อที่ดินมาเพื่อทำการเกษตรครับคือเราจะมองว่าหุ้นที่เราซื้อเป็น Fix Cost คือมองเป็นเงินจมไปเลยเเล้วหลังจากนั้นเราจะใช้ Fix Cost ก้อนนี้ในการสร้าง Wealth ให้กับเราเองนะครับ ซึ่ง Wealth ในทีนี้ประกอบไปด้วย 2 อย่างนะครับเเล้วเเต่มุมมองของเเต่ละคน อย่างเเรกคือ เงินสดที่ผลิตออกมาได้จาก Fix cost ที่เราลงทุนไป ส่วนอีกอย่างคือ ปริมาณ Asset ที่เพิ่มขึ้นเปรียบเทียบก็เหมือนกับตอนเเรกเรามีที่ดิน 1 ไร่ แต่ที่ดินผืนนี้ขยายไปมากกว่า 1 ไร่ ด้วย DSM เเต่อยากให้เข้าใจว่าการที่ดินขยายออกไปไม่จำเป็นต้อง NAV เป็น + นะ เพราะที่ดินเราเพิ่มก็จริงเเต่ราคาที่ดินมันอาจจะลงก็ได้ ดังนั้นถ้าเราเลือก Product ห่วยๆมาการได้ Asset นั้นก็ไม่มีประโยฃน์
.
* แต่ถ้าเป็น DSM ฉบับ Original เค้าจะให้ความสำคัญกับ Asset มากกว่าเงินสดที่ Build ได้นะครับ แต่ทั้งนี้ก็เเล้วเเต่บุคคลไป Modify ต่อเองว่าจะเน้นอะไร
.
4. แบ่งขาย + ทำระบบบัญชี จากขั้นตอนที่ 3 ตอนนี้เรามีที่ดินที่จะสร้าง Wealth เเล้วขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการเริ่ม Process การสร้าง Wealth กันนะครับ
.
จากที่ผมบอกไปการที่เราซื้อหุ้นตอนเเรกเปรียบเสมือน Fix Cost ดังนั้นให้เราลืมต้นทุนตรงนั้นไปได้เลย ต่อไปนี้จะเป็นการเล่นเกมจับคู่ Key คือ “ขายให้แพงกว่าซื้อ” แต่ Process ของ DSM คือ จะเริ่มจากขายก่อนค่อยซื้อ
.
ตัวอย่าง 1 คุณซื้อหุ้น X มา 10 บาท 100,000 หุ้น = 1,000,000 บาท >> Fix Cost
.
ต่อมา T1 >> ราคาหุ้นขึ้นไปที่ 11 บาท >> ขาย 5,000 หุ้น >> ยังไม่นับว่าได้กำไร/ขาดทุน
.
ต่อมา T2 >> ราคาหุ้นขึ้นต่อไปที่ 12 บาท >> ขายอีก 5,000 หุ้น >> ยังไม่นับว่าได้กำไร/ขาดทุน
.
ต่อมา T3 >> ราาหุ้นตกลงมาที่ 10 บาท >> ซื้อกลับ 10,000 หุ้น >> กำไรเ่ทากับ 5,000 ( 5,000 หุ้นที่ T1 ) + 10,000 บาท ( 5,000 หุ้นที่ T2 )
.
>> สรุปมีหุ้นเท่าเดิมแต่ได้กระเเสเงินสดเพิ่มมา 15,000 บาท
>> แต่ถ้าเราไม่อยากเก็บเป็นเงินสดอยากได้ Asset เพิ่มเราก็เอา 15,000 บาทไปซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อเพิ่ม Asset
.
ตัวอย่าง 2 คุณซื้อหุ้น X มา 10 บาท 100,000 หุ้น = 1,000,000 บาท >> Fix Cost
.
ต่อมา T1 >> ราคาลงไปที่ 9 บาท >> ขาย 10,000 หุ้น >> ยังไม่นับว่าได้กำไร/ขาดทุน
.
ต่อมา T2 >> ราคาลงไปที่ 8 บาท >> ซื้อกลับ 10,000 หุ้น >> กำไร 10,000 บาท
.
จะเห็นได้ว่าถ้าเรานับจาก NAV จริงๆเราขาดทุน แต่ถ้านับตามระบบ DSM คือเราไม่สนใจ Fix Cost ตอนเเรก เราจึงนับว่าจริงๆเเล้วเรากำไร 10,000 บาท ซึ่งก็เหมือนเดิมถ้าเราไม่อยากได้เงินสดอยากได้เป็นหุ้นเราก็นำเอา 10,000 บาทที่ได้มาไป Reinvest ในหุ้นเพื่ม
.
FAQ
.
1.ละถ้าขายไปละไม่ได้ซื้อกลับหละ ????
.
เราก็จะ Mark ในบัญชีลอยๆไว้ว่าไม่มี Matching กล่าวคือทำได้เเค่รอซื้อกลับเมื่อราคาถูกกว่าที่ขายไปเท่านั้น ดังนั้น DSM จะมีความเสี่ยงถ้าคุณเเบ่งไม้น้อยเกินไปมันอาจทำให้ต้องรอนานกว่าจะได้ซื้อกลับ เเต่ถ้าเเบ่งไม้มากพอเราก็จะได้ Cash Flow มาเพิ่มตลอดเวลา
.
2. ละจะขายตอน + ซื้อกลับด้วยหลักอะไรดีหละ ????
.
ตามสไตล์เลยจะใช้ Technical หรือ จะใช้หลักอะไรก็ตามสบายเพียงเเต่ต้องขายให้เเพงกว่าซื้อเเค่นั้นจบ
.
สำหรับ DSM แบบฉบับของ Trader 4.0 ก็จะประมาณนี้ครับหวังว่าจะเป็น Idea ให้กับนักเทรด นักลงทุนทุกท่านไปประยุกต์ใช้ต่อได้ ทั้งนี้ขอย้ำอีกครั้งว่า DSM เวอร์ชั่นนี้เป็นเวอร์ชั่นที่อาศัยความเข้าใจจากตัวผู้เขียนเป็นหลักอาจผิดเพี้ยนจากตัวจริงได้ทั้งนี้ต้องขอภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
 
เนื้อหาข้อมูลนี้เขียนโดยเพจ Trader 4.0
www.facebook.com/Trader4.00/posts/562965…
Subscribe
Notify of
guest
ให้คะแนน
0 ความคิดเห็น
Inline Feedbacks
View all comments

CHANGE LANGUAGE